วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

โครงานคณิตศาสตร์

การนำเสนอโครงงานคณิตศาสตร์
เรื่อง เกมส์คณิตคิดเพลิน





วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562

โครงงานสิ่งประดิษฐ์


โครงงานสิ่งประดิษฐ์

พัดลมจิ๋วตั้งโต๊ะ
บทที่ 1 
บทนำที่มาและความสำคัญ

เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นเมืองที่มีอากาศร้อนดังนั้นพัดลมจึงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นพวกเราจึงช่วยจะคิดสิ่งประดิษฐ์พัดลมจิ๋วตั้งโต๊ะเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับตนเองสามารถนำไปใช้ประโยชน์ที่โต๊ะทำงานได้และยังเป็นของประดิษฐ์
ตกแต่งด้วย

จุดประสงค์ 1
1 เพื่อประหยัดใช้จ่ายในบ้าน
 2 เพื่อใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด
 3.เพื่อช่วยในให้หายจากความร้อน

 ขอบเขตและข้อจำกัด
 -ใช้จำนวนเงินให้ถูกที่สุดใช้
 -ใช้พลาสติกในการใช้เป็นฐานเพื่อความทนทานและน้ำหนักเบา

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้าน
2.ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด
3.ช่วยบรรเทาความร้อน

                                   บทที่ 2 
                         เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาสิ่งประดิษฐ์พัดลมจิ๋วผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆดังต่อไปนี้
                  พัดลมเป็นอุปกรณ์ทำงานบ้านที่แต่ละบ้านต้องมีติดไว้เราจึงนำมาประดิษฐ์เป็นพัดลมจิ๋วDIYเพื่อเพิ่มมูลค่าของพัดลมและสามารถทำให้พัดลมไม่เปลืองไฟฟ้าและประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้านได้มากๆ

                             บทที่ 3
                     วิธีการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์ขั้นตอนการทำ

1.เตรียมวัสดุอุปกรณ์

.สายไฟ
มอเตอร์
ใบพัด
ถ่าน
รางถ่าน
ปืนยิงกาว
กาวแท่ง
บัดจี
ขาตั้ง(แบบพับงอได้)
สวิตท์ไฟ

2.ขั้นตอนการทำ

-นำสายไฟมาต่อกับรางถ่านกับสวิตท์ไฟและมอเตอร์

-นำเอาใบพัดเข้ามาใส่กับมอเตอร์

-นำเอาถ่านที่เตรียมมาใส่ที่รางถ่า

                                 บทที่ 4 
                      ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนิน
          งานผลการดำเนินงานเป็นเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงงานที่ทำการประดิษฐ์ชิ้นงานสำเร็จตามเป้าหมายและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
          
                                     บทที่ 5 
                     สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการดำเนินงาน
             สรุปได้ว่าพัดลมจากมอเตอร์มีประสิทธิภาพสามารถใช้งานใก้เกิดประโยชน์ได้จริงและช่วยในการคลายความร้อนในบ้านได้ในระหนึ่ง


      Review








โครงงานการพัฒนาเว็ปไซต์


บทที่1


ที่มาและความสำคัญ

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ต่อทุกสิ่งทุกวงการทั่วโลกรวมทั้งวงการศึกษาไทยด้วยและผลที่ตามมาในแง่ของเทคนิควิธีการเกี่ยวกับการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนในทุกระดับ

จุดประสงค์

1 เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
 2 เพื่อได้นำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3 เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าถึงเนื้อหาการพัฒนาเว็บไซต์ได้ง่าย
  4สามารถเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ได้หลากหลาย
   5 สามารถนำเสนอข้อมูลได้ง่าย
 
   ขอบเขตการศึกษา
 
    1 ขอบเขตด้านเนื้อหาเรื่องพัฒนาเว็บไซต์
    2 วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่
    2.1 โทรศัพท์มือถือพร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 2.2 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บblogger คือ https.//sites.google.com/
    2.3 เว็บไซต์ในการสื่อสาร facebook.com และ Google

ประโยชน์

1ได้เรียนรู้และสามารถพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
2ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3 ผู้ที่สนใจเรื่องการพัฒนาเว็บไซต์จะได้เข้าถึงสื่อการศึกษาได้ง่าย
 4 สามารถเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ได้หลากหลาย
  5 สามารถนำเสนอข้อมูลได้ง่าย

                           บทที่2
                เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 ในการศึกษาโครงงานพัฒนาเว็บไซต์ผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
 1.เว็บไซต์ Word เป็นโปรแกรมที่มีจุดเด่นที่ทำให้เราสามารถทำเอกสารได้สะดวกและยังสามารถเก็บข้อมูลต่างๆได้หลากหลายและยังเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการทำงานนำเสนอต่างๆเช่นการนำเสนอที่เกี่ยวกับโครงงานต่างๆและยังเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการทำเอกสารที่เป็นทางการและวิธีการต่างๆเป็นต้น

                             บทที่ 3
 วัสดุอุปกรณ์
1 คอมหรือโน๊ตบุ๊ค
 2 ไซต์ในการสืบค้นข้อมูล
 3.อินเทอร์เน็ต
 4.เว็บที่ใช้ในการทำงาน
 5.โปรแกรมWord
ขั้นตอนในการดำเนินงาน
 1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนออาจารย์ผู้สอน
 2.ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานในการพัฒนาเว็บไซต์
  3.ศึกษาโครงงานพัฒนาเว็บไซต์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
  4.จัดทำโครงงานเสนองานอาจารย์ผู้สอน
  5ออกแบบเว็บไซต์
  6.จัดทำโครงงานสร้างเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้
   7 ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม
   8.เผยแพร่ผลงานโดยการนำไปใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่5
   9.ทำเอกสารสรุปงานโครงงาน

                          บทที่ 4
               ผลการดำเนินงาน
ในการทดสอบการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษาผู้จัดทำได้ใช้วิธีการทดสอบโดยผู้จัดทำทดสอบการเลือกใช้เมนูต่างๆการทำแบบทดสอบการศึกษาเนื้อหาข้อมูลที่นำมาทดสอบเป็นทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด
                  จากการทดสอบเว็บไซต์เพื่อการศึกษาเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ได้มานำมาพัฒนาขึ้นมานี้สามารถทำงานได้ครบตามต้องการของผู้ใช้คือทำแบบทดสอบก่อนเรียนศึกษาเนื้อหาใบความรู้ทำใบงานและทำแบบทดสอบหลังเรียนได้



                           บทที่ 5
        สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
 1 ได้รู้จักการพัฒนาเว็บไซต์
 2 สามารถนำเว็บไซต์ที่นำมาพัฒนามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่างๆ
 3.ได้คิดและออกแบบเว็บไซต์ที่พัฒนา
 4.ได้นำเว็บไซต์มาประยุกต์และทำเป็นสื่อการเรียนการสอน
   อธิบายผลการศึกษา
   1 การที่กลุ่มของเราได้ศึกษาจะพบว่าการพัฒนาเว็บไซต์สามารถนำไปใช้ประโยชนได้หลายวิชาและหลายมุมมองตามที่เราจะศึกษา
 
   2 การทำพัฒนาเว็บไซต์เป็นต้องทำแค่ในแบบเดิมๆสามารถสร้างในแนวคิดที่แปลกใหม่ไปจากเดิมในการสร้างเว็บไซต์ตามความคิดสร้างสรรค์ต่างๆของเรา


วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เนื้อหาเพิ่มเติมของงานกลุ่มสื่อการเรียนรู้ เรื่องพระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร)

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร)



พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย ผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์คนสำคัญของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ)[1] และผู้อุทิศชีวิตให้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนวาระสุดท้ายของชีวิต
พระพรหมมังคลาจารย์
(ปั่น ปทุมุตฺตโร)
ปัญญานันทภิกขุ
Panyanandha Bhikku - thongsuk pech s funeral 1 cropped.jpg
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454
อำเภอเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุง
มรณภาพ10 ตุลาคม พ.ศ. 2550
เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร
อายุ96
อุปสมบทพ.ศ. 2474
พรรษา76
วัดวัดชลประทานรังสฤษฎ์
ท้องที่นนทบุรี
วุฒิการศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 4 ประโยค
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์
เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์
หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9
รองเจ้าคณะภาค 18

ประวัติแก้ไข

ชาติกำเนิดแก้ไข

พระพรหมมังคลาจารย์กำเนิดที่ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จังหวัดระนอง โดยมีพระรณังคมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดนางลาดอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยมีพระจรูญกรณีย์เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. 2474

ศึกษาหาหลักธรรมแก้ไข

หลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหาหลักธรรมในบวรพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสำนักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ 1 ของสังฆมณฑลภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และเอกในปีถัดมาที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้หลวงพ่อต้องหยุดการศึกษาไว้เพียงเท่านั้น แล้วเดินทางกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิมและได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดสีตวนารามและวัดปิ่นบังอร รัฐปีนังประเทศมาเลเซียในระหว่างที่จำพรรษาอยู่นี้ก็ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป

เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศแก้ไข

  • พ.ศ. 2475 หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศพม่า กับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรม ร่วมเดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อเดินทางถึงประเทศพม่าก็ต้องเดินทางกลับ
  • ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2476 หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป

สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุแก้ไข

พ.ศ. 2477 หลวงพ่อได้เดินทางไปจำพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่แก้ไข

  • ในปี พ.ศ. 2492 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์จ.เชียงใหม่ และได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์และวันพระที่พุทธนิคม จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกันนี้หลวงพ่อได้เขียนบทความต่าง ๆ ลงในหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือธรรมะขึ้นจำนวนหลายเล่ม นอกจากนี้ หลวงพ่อได้เดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวเขาโดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียง จนชื่อเสียงของหลวงพ่อดังกระฉ่อนไปทั่ว จังหวัดเชียงใหม่ ในนาม "ภิกขุปัญญานันทะ"
  • ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิเมตตาศึกษา ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย

วัดชลประทานรังสฤษฎ์แก้ไข

  • ในปี พ.ศ. 2502 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน
  • พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ได้ดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรก ๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่าง ๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน
  • นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย
  • โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาล กรมชลประทาน 80 ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ แม้ว่าคำสอนของหลวงพ่อจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย หลวงพ่อปัญญานันทภิภขุ เป็นหนึ่งในบรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วยคุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นำคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมสำหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย" ในปัจจุบัน

ผลงานและเกียรติคุณแก้ไข

งานด้านการปกครองแก้ไข

งานด้านการศึกษาแก้ไข

  • พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทานรังสฤษฏ์
  • พ.ศ. 2512 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ระดับอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2524 เป็นผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชลประทานรังสฤษฏ์
    • เป็นผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์

งานด้านการเผยแผ่แก้ไข

  • พ.ศ. 2492-2502 เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมประจำวันพระและวันอาทิตย์ ณ พุทธนิคม สวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่
  • พ.ศ. 2500 เป็นประธานมูลนิธิ "ชาวพุทธมูลนิธิต้านโกง" จังหวัดเชียงใหม่
    • เป็นประธานก่อตั้งพุทธนิคม จ.เชียงใหม่
  • พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์
    • เป็นผู้ริเริ่มการทำบุญ ฟังธรรมในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
    • เป็นผู้ก่อตั้งทุนพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน พ.ศ. 2520
    • เป็นผู้อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา
  • พ.ศ. 2525 รับเป็นองค์แสดงธรรมแก่วุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. 2534 เป็นผู้ริเริ่ม ค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน เรียกว่า "ค่ายพุทธบุตร" ในโรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ฯลฯ
  • พ.ศ. 2536 จำพรรษา ณ วัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศแก้ไข

  • พ.ศ. 2497 เดินทางเผยแผ่ธรรมรอบโลก
  • ช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนา เผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน
  • เป็นเจ้าอาวาสววัดพุทธธรรม วัดไทยในชิกาโก สหรัฐอเมริกา

งานด้านสาธารณูปการแก้ไข

  • พ.ศ. 2516 เป็นประธานในการก่อสร้างกุฏิสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นที่อยู่แก่พระภิกษุผู้บวชใหม่
  • พ.ศ. 2518 เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธธรรม
  • เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
  • พ.ศ. 2537 เป็นประธานก่อสร้างกุฏิสองหลังเป็นกุฏิทรงไทยประยุกต์

งานด้านสาธารณประโยชน์แก้ไข

  • พ.ศ. 2533 เป็นประธานหาทุนสร้าง "ตึก 80 ปี ปัญญานันทะ" ให้โรงพยาบาลชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  • สร้างศูนย์ฝึกและปฏิบัติงาน มูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พ.ศ. 2534 บริจาคเงินสร้างอุโบสถวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2537 บริจาคเงินสร้างโรงอาหารแก่โรงเรียนประภัสสรรังสิต อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
  • บริจาคเงินซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลวชิระ จังหวัดภูเก็ต
  • รับมอบที่ดินและเป็นประธานหาทุนสร้างและอุปถัมภ์ วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี
  • บริจาคเงินเป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในโรงเรียนท้องถิ่นที่ขาดแคลนต่าง ๆ หลายจังหวัด
  • ได้แสดงธรรมเพื่อหาเงินสบทบทุนในจัดสร้างอาคารเรียน 100 ปี โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง
  • แสดงธรรมเพื่อหาเงินสมบทในจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง
  • เป็นประธานหาทุนปรับปรุงและยกฐานะโรงพยาบาลชลประทานเป็นศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ-ชลประทาน

งานพิเศษแก้ไข

  • พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน
  • พ.ศ. 2518 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพรเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ ศาลาการเปรียญ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
  • เป็นองค์แสดงธรรมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีอันมีศักดิ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
  • เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ช่าวต่างประเทศ ที่อุปสมบทในประเทศไทย เช่น ชาวอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และศรีลังกา เป็นต้น
  • พ.ศ. 2529 ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์อาเชี่ยนเพื่อสันติภาพ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศประชาธิปไตยประชาชนลาว (12th Asain Buddist Conference for Peace)
  • พ.ศ. 2536 ได้รับนิมนต์ไปร่วมประชุมและบรรยาย ในการประชุมสภาศาสนาโลก 1993 ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา (The 1993 Parliament of the world's Religion)

งานด้านวิทยานิพนธ์แก้ไข

ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น
  1. ทางสายกลาง
  2. คำถามคำตอบพุทธศาสนา
  3. คำสอนในพุทธศาสนา
  4. หน้าที่ของคนฉบับสมบูรณ์
  5. รักลูกให้ถูกทาง
  6. ทางดับทุกข์
  7. อยู่กันด้วยความรัก
  8. อุดมการณ์ของท่านปัญญา
  9. ปัญญาสาส์น
  10. ชีวิตและผลงาน
  11. มรณานุสติ
  12. ทางธรรมสมบูรณ์แบบ
  13. 72 ปี ปัญญานันทะ
  14. กรรมสนองกรรม เป็นต้น

เกียรติคุณที่ได้รับแก้ไข

  • พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัล "สังข์เงิน" จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะพระภิกษุผู้เผยแผ่ธรรมะและศีลธรรมยอดเยี่ยมของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัล "นักพูดดีเด่น" ประเภทเผยแผ่ธรรม จากสมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2525 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จากกรมการศาสนา โดยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ 2 รางวัล คือ ประเภท ก.บุคคล และประเภท ข.สื่อสารมวลชน (รายการส่งเสริมธรรมะทางสถานีวิทยุโทรทัศน์)
  • พ.ศ. 2524 ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จาก มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2531 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2548 ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในโอกาสงานครบรอบ 100 ปี โรงเรียนพัทลุง จากโรงเรียนพัทลุง
  • พ.ศ. 2550 ได้รับยกย่องเชิดชู ในฐานะ "ผู้สูงอายุแห่งชาติ" ประจำปี 2550 ผู้มีผลงานดีเด่นคนแรก (รูปแรก) ของประเทศ

สมณศักดิ์ที่ได้รับแก้ไข

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปัญญานันทมุนี[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชนันทมุนี ธรรมาวาทีคณาภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิสุทธิเมธี ศรีภาวนาจารย์ สุนทรญาณพิสิฏฐ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • ภ5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมภาณ วิสาลธรรมวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมมังคลาจารย์ ไพศาลธรรมโกศล วิมลศีลาจารวินิฐ พิพิธธรรมนิเทศ พิเศษวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]

มรณภาพแก้ไข

พระพรหมังคลาจารย์ถึงแก่มรณภาพเมื่อเวลา 9.09 น. ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยเหตุติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริรวมอายุได้ 96 ปี 5 เดือน พรรษา 76 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโกศแปดเหลี่ยมและรับศพไว้ในพระราชานุเคราะห์


                                 #ส่งคุณครู วินิจ เครือวงศ์